Tiny Fingers Peace Sign

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer)



ลักษณะการทำงานของนักโปรแกรมเมอร์

โปรแกรมเมอร์ จะทำหน้าที่ นำข้อมูลการออกแบบรายละเอียดการวางโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ จากนักวิเคราะห์ระบบงาน มาเขียนเป็นโปรแกรมต่าง ๆ ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะแตกต่างกันไปตามลักษณะเครื่องของระบบฐานข้อมูล ทดสอบระบบและส่งให้นักวิเคราะห์ระบบทำการตรวจสอบอีกครั้งเพื่อหากจุดบกพร่องและแก้ไขก่อนนำไปใช้จริง..... 




คุณสมบัติที่จำเป็นในการเป็นโปรแกรมเมอร์

• มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเข้ารับศึกษาได้ในสถานบันการศึกษาที่เรียนทำการสอนหรือสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านคอมพิวเตอร์
• มีทักษะในการการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์
• มีความคิดสร้างสรรค์สามารถประยุกต์และดัดแปลงความรู้ความสามารถทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี



ความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ


นักเขียนโปแกรมคอมพิวเตอร์สามารถเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นได้ หากมีความสามารถในการวิเคราะห์ระบบและมีทักษะในการสื่อสารและถ่ายทอดความรู้ที่ดี สามารถก้าวไปยังตำแหน่ง นักวิเคราะห์ระบบงานหรือตำแหน่งที่สูงขึ้นไปอีกก็ได้ หรืออาจจะหาอาชีพเสริมได้ด้วยการรับสอนภาษาคอมพิวเตอร์และรับเขียนโปรแกรมและวางระบบคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ รับเขียนโปรแกรมสำเร็จรูป หรือจัดตั้งบริษัทที่ปรึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ก็ได้
ความต้องการของตลาดแรงงานการพัฒนาศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ยังสามารถขยายตัวไปได้อีกมาก จำนวนโปรแกรมเมอร์ที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงยังไม่เพียงพอกับความต้องการขยายตลาดวงการไอที อาชีพนี้จึงยังมีแนวโน้มความต้องการในตลาดแรงงานค่อนข้างสูงและให้ผลตอบแทนสูง สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์และความสามารถมาก ดังนั้นโปรแกรมเมอร์จึงควรที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มขึ้นเพื่อนำมาปรับปรุงใช้ในงานและพัฒนาฝีมือให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น


สภาพการจ้างงาน
ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จะได้รับเงินเดือนเทียบเท่าวุฒิปริญญาตรีทั่วไป และจะมีค่าวิชาชีพ ให้เป็นกรณีพิเศษ จัดได้ว่าผู้ประกอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์-Computer-Programmerส่วนใหญ่มักจะมีรายได้ ค่อนข้างดี อัตราค่าจ้างเป็นรายเดือนแตกต่างกันไปตามความรู้และความชำนาญ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ที่ไม่มีประสบการณ์จะได้รับเงินเดือนโดยประมาณดังนี้
ประเภทองค์กร เงินเดือน
ราชการ 5,000-8,000
เอกชน 7,000-12,000
ส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะต้องมาทำงานวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุด อาจทำงานล่วงเวลาในกรณีที่ต้องการให้ระบบงานเสร็จให้ทันต่อการใช้งาน





สภาพการทำงาน
ผู้ปฏิบัติงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์-Computer-Programmer จะต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเขียนและทดสอบ ดังนั้นสภาพทำงานจะเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป จะมีการออกไปติดต่อผู้ใช้งานระบบเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมบ้างเป็นครั้งคราว
งานเขียนโปรแกรมเป็นงานที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน วันหนึ่งประมาณ 6-7 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น ต้องใช้ประสาทสัมผัสของสายตาและมือ บางครั้งอาจมีปัญหากับสายตาได้ เนื่องจากอยู่กับจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ programmer


เหตุผลที่ชอบเพราะ : ตื่นเต้นและรู้สึกสามารถทำอะไรต่างๆได้ด้วยตัวของตัวเองเพราะการที่เราสามารถคีย์โปรแกรมได้ตามที่ใจชอบ


..... อ่านต่อได้ที่: 
https://www.gotoknow.org/posts/576082



วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ผลกระทบต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านลบ


ผลกระทบด้านลบ 

 ก่อให้เกิดความเครียดในสังคมมากขึ้น เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรแบบใดมักจะชอบทำอย่างนั้นไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลง บุคคลที่รับต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ได้จึงเกิดความวิตกกังกล จนกลายเป็นความเครียด กลัวว่า คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้ คนตกงาน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเข้ามาทดแทนมนุษย์

 ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลกทำให้ พฤติกรรมที่แสดงออก ด้านการแต่งกาย และการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป การมอมเมาเยาวชน ในรูปของเกมส์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชน เกิดการกลืนวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ

 ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วในระบบเครือข่ายมีผลก่อให้เกิดโลกไร้พรมแดน แต่เมื่อพิจารณาศีลธรรมของแต่ละประเทศพบว่ามีความแตกต่างกัน ประเทศต่างๆ ผู้คนอยู่ร่วมกันได้ด้วยจารีตประเพณี และศีลธรรมดีงามของประเทศนั้นๆ การแพร่ภาพหรือข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดีไปยังประเทศต่างๆ มีผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในประเทศนั้นๆ ที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน




 การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการสื่อสาร และการทำงาน แต่ในอีกด้านหนึ่งการมีส่วนร่วมของกิจกรรมทาง สังคมที่มีการพบปะสังสรรค์กันจะมีน้อยลง ผู้คนมักอยู่แต่ที่บ้านหรือที่ทำงานของตนเองมากขึ้น

 การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลโดยการเผยแพร่ข้อมูลหรือรูปภาพต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่สาธารณชน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วน บุคคล เช่นนี้ต้องมีกฎหมายออกมาให้ความคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง

 เกิดช่องว่างทางสังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับการลงทุน ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีอยู่จำนวนมากกลับไม่มี โอกาสใช้ และผู้ที่ยากจนก็ไม่มีโอกาสรู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

 อาชญากรรมบนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมย ข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการ สารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลและไวรัส

 ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงาน การศึกษา บันเทิง ฯลฯ การจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มีผลเสียต่อสายตาซึ่งทำให้สายตา ผิดปกติ มีอาการแสบตา เวียนศรีษะ นอกจากนั้นยังมีผลต่อสุขภาพจิต เกิดโรคทางจิตประสาท



อ้างอิง : https://sites.google.com/site/krunoptechno/phlk-ra-thb-khxng-thekh-noo/phlk-ra-thb-dan-lb

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

ใบงานเรื่อง บทบาทของเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบทางด้านบวก

เจาะ! แอปเปิล วอตช์ ภารกิจรักสุขภาพ อะจริงซิ!







"แกะกล่อง IT" พาไปทำความรู้จักกับคุณสมบัติของ "Apple Watch" ที่เน้นตอบโจทย์สุขภาพและการออกกำลังกาย หลังจากอัพเดตซอฟต์แวร์เวอร์ชั่น 2.0…จากวัตถุประสงค์ที่ต้องการส่ง "แอปเปิล วอตช์" มาตอบโจทย์การใช้งานระหว่างวัน ภายใต้ความสามารถในการอำนวยความสะดวกและใช้งานได้ใกล้เคียงกับการใช้สมาร์ทโฟน และแม้ว่าขณะนี้ เราจะเห็นผู้คนนิยมใส่นาฬิกาอัจฉริยะแพร่หลายขึ้น แต่ประโยชน์ส่วนใหญ่ก็เพื่อใช้คู่กับการออกกำลังกาย ซึ่งค่อนข้างแตกต่างจากประโยช์ของแอปเปิล

อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/591521


สายหนังมีให้เลือกหลากหลายสีสัน


เริ่มต้นการใช้งาน


วัดระดับการเต้นหัวใจ...คุณสมบัติที่หลายๆ คนต้องการจากอุปกรณ์สนับสนุนการออกกำลังกาย


2.ให้นักเรียน อ่าน และ คิดว่า ข่าวที่นักเรียนค้นหาข้อมูลมานี้มีผลกระทบด้านบวก อย่างไรกับเราบ้าง?
= ทำให้รู้ว่า ในปัจจุบันความสามารถของเทคโนโลยีช่วยอำนวยความสะดวกและใช้งานได้ใกล้เคียงกับการใช้สมาร์ทโฟนเพียงแต่ย่อส่วนลงมาอยู่บนข้อมือจนกลายเป็นนาฬิกาอัจฉริยะทำให้ชีวิตเราสะดวกสะบายมากขึ้นและสามารถในทั้งด้านการสื่อสารและการบันเทิงต่างๆ

3.เราเห็นด้วยหรือไม่กับข่าวนี้ ?
= เห็นด้วย เพราะ การเปิดตัวของนาฬิกาอัจฉริยะเรือนนี้ทำให้ผู้คนสนใจเป็นอย่างมากและเป็นนาฬิกาที่มีช่วยให้เราใช้ชีวิตอย่างสะดวกสะบายมากขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ใบงานที่4


การลงมือทำโครงงาน 

เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี

4.1 การเตรียมการ 


การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ



4.2 การลงมือพัฒนา 


1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น
2. จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่่อยทำ ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน




4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข 

การตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย 





4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ 

เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน และทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำ ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย





4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ

เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้



อ้างอิง http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ใบงานที่3


โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

(สื่อเพื่อการศึกษา โปรแกรมบทเรียน)

เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน โดยอสร้างเป็นโปรแกรมบทเรียน หรือบทเรียนออนไลน์ ที่อาจมีแบบฝึกหัดหรือคำถามเพื่อทดสอบ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ เช่น บทเรียนออนไลน์เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ บทเรียนออนไลน์เรื่องชุดกล่องสมองกล หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์เรื่องสำนวนสุภาษิต











อ้างอิง http://wisawachit-sawangphon-class-m6-4-no-4.blogspot.com/2014/11/blog-post.html

ใบงานที่2





1.ประเภทโครงงาน มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?

แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่

๑. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ เป็นการใช้บูรณาการร่วมกับการเรียนรู้ ทักษะและเป็นพื้นฐานในการกำหนดโครงงานและปฏิบัติ


๒. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนกำหนดขั้นตอน ความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยใช้ทักษะความรู้ จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆมาบูรณาการเป็นโครงงานและปฏิบัติ

2.โครงงานคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?

1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงาน ประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ตัวอย่างโครงงาน เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล ตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการชำกิ่งกุหลาบ หลักภาษาไทย และสถานที่สำคัญของประเทศไทย เป็นต้น


2.โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน โครงงานประยุกต์ใช้งานเป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการ สร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งภายในอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี และซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ ซึ่งอาจเป็นการคิดสร้างสิ่งของขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้นๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับ ปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้ผู้เรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง


3.โครงงานพัฒนาเกม โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้หรือเพื่อความ เพลิดเพลิน เกมที่พัฒนาควรจะเป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจแก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไป และนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่างๆ



4.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วย สร้างงานประยุกต์ต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปซอฟต์แวร์ เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน และซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลคำ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้ในการพิมพ์งานต่างๆบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนซอฟต์แวร์การวาดรูป พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้การวาดรูปบนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปได้ โดยง่าย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ ใช้สำหรับช่วยการออกแบบสิ่งของ อาทิเช่น ผู้ใช้วาดแจกันด้านหน้า และต้องการจะดูว่าด้านบนและด้านข้างเป็นอย่างไร ก็ให้ซอฟต์แวร์คำนวณค่าและภาพที่ควรจะเป็นมาให้ เพื่อพิจารณาและแก้ไขภาพแจกันที่ออกแบบไว้ได้อย่างสะดวก


5. โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการ จำลองการทดลองของสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่ไม่สามารถทดลองด้วยสถานการณ์จริงได้ เช่น การจุดระเบิด เป็นต้น และเป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษาแล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบาย พร้อมทั้งารจำลองทฤษฏีด้วยคอมพิวเตอร์ให้ออกมาเป็นภาพ ภาพที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปตามสูตรหรือสมการนั้น ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่างโครงงานจำลองทฤษฎี เช่น การทดลองเรื่องการไหลของของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาปิรันย่า และการทดลองเรื่องการมองเห็นวัตถุแบบสามมิติ เป็นต้น


3.ประโยชน์ของโครงงาน


ได้รับความสุข/สนุกกับการทำงาน
ได้ทำงานตามความถนัด และความสนใจของตนเอง
ได้รู้จักวิธีแสวงหาความรู้/ข้อมูล/การเรียนรู้
ได้ฝึกทักษะกระบวนการทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมทำงานเป็นกลุ่ม
ได้ฝึกความกล้าในการแสดงออกและกล้าคิด
พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สร้างความรับผิดชอบต่อตนเองและ
ได้ฝึกการวางแผนการทำงานอย่าง
นำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง
ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ศึกษา ค้นคว้า และแก้ปัญหาจากการทำงาน
ใช้เป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการทำโครงงานที่แท้จริง กรณีที่ต้องนำโครงงานไปใช้แสดงต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่นใช้ในการสมัครงาน




อ้างอิง
https://sites.google.com/site/krutermsaksuwan/home/keiyw-kab-khru-teim-sakdi/khwam-ru-reuxng/khwam-hmay-khxng-khorng-ngan/prayochn-khxng-khorng-ngan